วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ยกตัวอย่าง 10 อย่างของมารยาทไทย

มารยาทโดยทั่วไป

การมีมารยาทเป็นเรื่องสําคัญของมนุษย์ที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน เป็นการแสดงความเคารพให้เกียรติ
กัน คนไทยปัจจุบันมักเรียกตนเองว่า เป็นคนยุคใหม่ และชอบทําอะไรแบบง่าย ๆ ถือเอาความสะดวกสบาย
เป็นหลักพฤติกรรมที่แสดงออกมาในบางครั้งจึงกลายเป็นคนได้มารยาทไปโดยไม่ตั้งใจ การให้เรียนรู้มารยาทใน
สังคมจึงยังเป็นสิ่งสําคัญต่อเยาวชนไทยเป็นอย่างยิ่ง
มารยาทโดยทั่วไปที่ควรทราบมีดังนี้

1. การแต่งกายให้เรียบร้อย การแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสมกับเวลา และสถานที่ถือว่าเป็นผู้มี
วัฒนธรรม และจะได้รับความเกรงใจจากผู้พบเห็น
2. การสํารวมกิริยาท่าทาง และคําพูด การอยู่ต่อหน้าผู้อื่นต้องสํารวมเรื่องการพูดไม่พูดคําหยาบคาย
ตลกคะนอง เอะอะ แสดงกิริยาท่าทางให้สบเสงี่ยมเป็นการเคารพสถานที่ และรักษาบุคลิกของตนให้ดูดีใน
สายตาของคนอื่น
3. การรู้จักเกรงใจ ไม่ถือวิสาสะ
การเกรงใจ คือ การรู้จักระวังความรู้สึกของคนอื่นในเรื่องต่อไปนี้
- การขอความช่วยเหลือ
- การขออาศัยรถ หรือบ้าน
- การไปเยี่ยมเยือนในเวลาเช้า หรือดึกเกินไป หน้า 78   การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)


- การหยับยืมสิ่งของ ฯลฯ
การไม่ถือวิสาสะ คือ การไม่ปฏิบัติเรื่องต่อไปนี้
- เข้าห้องผู้อื่นโดยไม่เคาะประตู
- หยิบของ หรือใช้ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
- เดินเข้าไปสํารวจในบ้านคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
- เปิดจดหมายของคนอื่นออกอ่านโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. การให้เกียรติผู้อื่น การให้เกียรติผู้อื่นมีอยู่ 2 แบบ คือ ให้เกียรติด้วยวาจา ได้แก่
- ไม่พูดใส่หน้าจนน้ําลายกระเด็น
- ไม่กล่าวคําล้อเลียน นินทา
- พูดข่ม เยาะเย้ย ดูถูก เหยียดหยาม
ให้เกียรติด้วยท่าทาง ได้แก่
- ไม่สูบบุหรี่ในห้องแอร์ หรือในลิฟต์
- ไม่นั่งกางขา นั่งไขว่ห้าง นั่งโยกเก้าอี้
- ไม่ถอดร้องเท้า บิดขี้เกียจ อ้าปากหาว
- ไม่หวีผม ตัดเล็บ แคะ แกะ เกา
- ไม่ยกเท้าไว้บนโต๊ะทํางาน หรือยกเท้าถีบพนักพิงเก้าอี้
- ไม่ยกปลายเท้าชี้แทนมือ หรือยกขาพาดตักผู้อื่น
5. การกล่าวคําขอโทษ และขอบคุณ ควรใช้คําขอโทษ และขอบคุณให้ติดเป็นนิสัย แม้จะเป็นเรื่อง
เล็กน้อยก็ตาม
6. การไม่พูดเพ้อเจ้อ หรือพูดสั่งพร่ําเพรื่อ พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดออกนอกลู่นอกทาง นอกเรื่อง ที่กําลัง
เป็นประเด็นสําคัญ พูดสั่งพร่ําเพรื่อ คือ พูดย้ําเตือน พูดสั่งพร่ําเพ้อ หรือ พูดย้ําเตือนกําชับ เพราะกลัวคนฟังจะ
ลืม หากพูดบ่อย ๆ จะถือว่าเป็นการเสียมารยาท
7. การทักทายด้วยรอยยิ้ม และอัธยาศัยไมตรี การทักทายเมื่อพบคนที่รู้จักทําได้หลายวิธี เช่น การ
ยกมือไหว้ผู้ใหญ่ การทักทายด้วยความยินดี และการส่งยิ้มให้ก็เป็นการแสดงถึงความเป็นคนที่มีอัธยาศัยไมตรี
อันดีใคร ๆ ก็ต้องการคบหาด้วย
8. การระมัดระวังตัว และอ่อนน้อมถ่อมตน คนที่คอยระมัดระวังตนเองจะไม่เหลียวหน้า เหลียวหลัง
ทําท่าทางเลิกลัก หรือทําตัวเป็นจุดเด่น ส่งเสียงกรี๊ดกร๊าดเหมือนคนมีปัญหา ส่วนคนที่นอบน้อมถ่อมตนจะไม่
แสดงหรือเย่อหยิ่ง จองหอง ซึ่งจะเป็นที่รักใคร่ของผู้อื่น
9. การไม่ทําอะไรตามใจตน และไม่ต่อปากต่อคํากับผู้ใหญ่ วัยรุ่นหรือเยาวชนส่วนใหญ่จะมีลักษณะ
ใจร้อน จึงคิดและตัดสินใจทําอะไรรวดเร็วตามวัย แต่การทําตามใจตนเองนั้น ส่วนใหญ่มักผิดพลาด จึงควรยั้ง
คิดฟังคําตักเตือน และปรึกษาผู้ใหญ่ การสนทนากับผู้ใหญ่บางครั้งด้วยวัยที่แตกต่างกันความคิดอาจขัดแย้งกัน
ได้ แต่ก็ไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใหญ่ ควรใช้วิธีค่อย ๆ อธิบายเหตุผลให้ท่านได้ฟังจะดีกว่า

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คุณค่าของมารยาทไทย



คุณค่าของมารยาทไทย ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่ามารยาทหรือมรรยาท เป็นคำไทย ซึ่งนำมาจากภาษาบาลี ว่า “ มริยาท ” หรือภาษาสันสกฤตว่า “ มรยาทา ” แปลว่า กิริยาวาจาที่ถือว่าเรียบร้อย หมายถึง การปฏิบัติตนโดยผ่านกระบวนการฝึกอบรม ขัดเกลาให้เป็นไปตามความนิยมยอมรับของสังคมแต่ละสังคม 

ลักษณะเฉพาะของมารยาทไทย ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของชาติ และเป็นการแสดงออกต่อผู้อื่นที่นุ่มนวล มีความเป็นระเบียบแบบแผน มีกาละเทศะ คือ


· สุภาพอ่อนน้อม
· เคารพระบบอาวุโส
· มีกิริยาวาจาคำลงท้ายเฉพาะ
· มีการยืน เดิน นั่ง ที่ต่างบรรยากาศ
· มีการแสดงความเคารพ
· การทักทาย
· การใช้วาจา
· การแสดงความคิดเห็น


คุณค่าของมารยาทไทย เรื่องของมารยาทนั้น ยังมักเข้าใจกันว่าเป็นเรื่องวิธีการเข้าสังคม ปรับตัวให้เข้ากับหมู่คณะเพื่อความเป็นระเบียบ เพื่อความงดงามน่าดู ความจริงแล้วมารยาทเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ โดยเฉพาะวัฒนธรรมของไทย ซึ่งส่วนหนึ่ง มาจากสังคมเกษตรกรรม และอีกส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาต่างๆทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ คนไทยได้รับการยกย่องจากชาวต่างชาติมาช้านานว่า เป็นผู้มีมารยาทอ่อนโยน นุ่มนวล น่ารัก


ลักษณะมารยาทที่ดีในเด็กปฐมวัย สามารถจำแนกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

1. มารยาทการพูดจา
· เจรจาไพเราะ มีหางเสียง ครับ หรือ ค่ะ

· รู้จักใช้คำว่า ขอบคุณ และ ขอโทษ ให้เป็นนิสัย


· ไม่พูดเสียงดังเกินไป หรือตะโกนโหวกเหวก เป็นกิริยาที่ไม่งาม


· งดพูดคำหยาบคาย เพราะไม่เป็นมงคลแก่ผู้พูด และผู้ฟัง


2. มารยาทการแสดงออก

· หลีกเลี่ยงการแย่งกันพูด นอกจากจะไม่น่าดูแล้วยังไม่รู้จักการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย

· ฝึกท่าทางประกอบการพูดให้เหมาะสม ไม่ยกมือขวักไขว่ หรือแสดงท่าทางอยู่ตลอดเวลา ฝึกพูดให้มีจังหวะ เสียงชัดเจน พูดสั้นแต่ได้ใจความ ไม่เพ้อเจ้อ เพราะบางคนแก้เขินด้วยการแลบลิ้น การยักคิ้ว โดยไม่ตั้งใจ เมื่อทำบ่อยๆก็จะติดเป็นนิสัยและเสียบุคลิกภาพได้


· แสดงไมตรีจิตด้วยการทักทาย สนใจทุกข์สุข และแสดงความจริงใจ


· การมีสัมมาคารวะ รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ รู้จักเคารพผู้อื่น


· การแสดงออกเมื่อมีโอกาส เป็นมารยาทที่ต้องฝึกให้เป็นนิสัย เช่น มารยาทการลุก นั่ง เดิน ยืน การใช้น้ำเสียง การควบคุมอารมณ์ 


· มารยาทเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ เช่นไม่นั่งไขว่ห้าง ไม่นั่งกระดิกเท้า ไม่นั่งเหยียดเท้าถ่างขา เวลาเดินผ่านก็ต้องก้มหลัง หรือถ้าพบผู้ใหย่ก็ต้องแสดงความเคารพ 


· รู้จักกล่าวคำสุภาพ ไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่ ต้องมีความนอบน้อมนับถือผู้ใหญ่


· ต้องไม่แสดงกิริยาขัดขวางสิ่งที่นิยมกัน เช่นขณะที่เขานั่งอยู่กับพื้น ตนเองต้องไม่ยืน ขณะที่เขาทุกข์โศกต้องไม่แสดงกิริยารื่นเริง ถ้าเป็นแขกบ้านใดก็ต้องเกรงใจเจ้าของบ้าน เมื่อพบใครต้องไม่จ้องดูเขา


· ต้องรู้จักเกรงอกเกรงใจผู้อื่น รู้จักเคารพผู้อื่น รู้จักแสดงความอ่อนน้อมทั้งกาย วาจา ใจ และแสดงมารยาทกับผู้อื่นได้เหมาะสมกับวัย กับบุคคล กับโอกาส และสถานที่


ปัจจุบันพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนพบว่า มีมารยาทที่แตกต่างจากเดิมมาก ทั้งยังเป็นไปในทางลบ ไม่ว่าด้านการพูด ด้านการกระทำ และด้านการแสดงออก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปลูกฝังและพัฒนาตั้งแต่ระดับปฐมวัย เพราะการปลูกฝังมารยาทไทยนั้นเป็นการซึมซับ ซึ่งวิธีการที่จะช่วยพัฒนามารยาทไทยให้กับเด็กปฐมวัย ได้แก่พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างสำคัญ และต้องคอยอบรม คอยแนะนำ คอยสั่งสอนเด็กอย่างใกล้ชิด ตลอดจนคุณครูประจำชั้น จะต้องมีหน้าที่ให้วิชาความรู้เรื่องมารยาทไทยกับเด็ก และจะต้องฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับมารยาทให้เด็กเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะจัดผนวกไปกับตารางประจำวันก็ได้ เช่นก่อนเข้าห้องเรียน หรือก่อนกลับบ้านตอนเย็น ตามความเหมาะสมและจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย 

ความสำคัญ

ก่อนที่จะกล่าวถึง “มารยาททางสังคม” ผู้เขียนขอให้มาทำความรู้จักกับคำว่า  “มารยาท” ก่อนว่า คืออะไร “มารยาท” หรือ “มรรยาท” (etiquette or good manners) หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553) หรือก็คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไร พื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม คนสุภาพจะเป็นคนที่มีจิตใจสูงเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคนที่มีอะไรในตัวเองแล้วจึงจะสุภาพอ่อนน้อมได้ ความสุภาพอ่อนน้อมมิได้เกิดจากความเกรงกลัว แต่ถือว่าเป็นความกล้า ส่วนความสำรวม คือ การเป็นคนมีสติ ไม่พูดไม่ทำอะไรที่เกินควร รู้จักการปฏิบัติที่พอเหมาะพองาม คิดดีแล้วจึงทำ คาดแล้วว่า การกระทำจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะตัวคนเดียว (บ้านมหาดอทคอม, 2552) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มารยาทเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคล ได้แก่ การสัมมาคารวะ ความสุภาพ อ่อนน้อม ความมีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น  จึงกล่าวได้ว่า มารยาทเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคลที่แสดงออกทั้งในด้านกิริยา วาจา ซึ่งมีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติ ที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม มีความสำรวม ถูกกาลเทศะ และปฏิบัติสิ่งที่พอเหมาะพองาม
        มารยาทจึงเป็นสิ่งที่เราเคยชินกับการได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ทั้งจากในบ้านที่คุณปู คุณย่า คุณตา คุณยาย บิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพรักพร่ำสอน ตลอดจนคุณครูและอาจารย์ในโรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ปลูกฝังเรา เพื่อให้เรามีมารยาททางสังคม รู้จักอะไรควรและไม่ควรกระทำ สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ มารยาททางสังคมจึงเป็นกรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติหรือควรละเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับผู้อื่น รวมทั้งชุมชนหรือคนหมู่มาก โดยเหตุที่มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ลำพังคนเดียวในโลกได้ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีกฎกติกากำหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งทุกชาติทุกประเทศต่างก็มีแบบอย่างทางวัฒนธรรมที่เรียกกันว่า มารยาททางสังคมนี้ทั้งสิ้น เพียงแต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันบ้าง อย่างไรก็ดี ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน อาจทำให้คนสมัยนี้หันไปพึ่งพาเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง อันเป็นเหตุให้ละเลยหรือเพิกเฉยต่อมารยาทที่พึงมีต่อกัน แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ยังจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในทุกสังคม (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553)

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความหมาย




ความหมาย มารยาทความหมาย มารยาท
“ มารยาท ” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ
ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ